Clean code คืออะไร

Image placeholder
แวะมาทักทายกันได้


โปรแกรมเมอร์และวิศวกรด้านซอฟต์แวร์ชื่อดังหลายท่านได้แสดงความคิดเห็นกับคำว่า Clean Code เอาไว้ดังนี้

 

Bjarne Stroustrup ผู้สร้างภาษา C++ และผู้แต่งหนังสือ The C++ Programming Language ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคำว่า Clean Code ไว้ว่า

ผมชอบความมีประสิทธิภาพและความเรียบร้อยของโค้ด ควรจะแสดงลอจิคความคิดอย่างตรงไปตรงมาจะทำให้เกิดข้อผิดพลาดได้ยากขึ้น การทำ dependencies จะทำให้บำรุงรักษาโค้ดได้ง่าย ควรจะทำฟังก์ชันจัดการข้อผิดพลาดของระบบ

 

สิ่งที่ Bjarne แสดงความคิดเห็นเอาไว้นั้น อยากให้ผู้ที่มาอ่านโค้ดต่อได้มีความสุขกับความเข้าใจขั้นตอนของระบบและโค้ดนั่นเอง

 

Gredy Booch ผู้เขียน Object Oriented Analysis and Design with Application ได้แสดงความคิดเห็นกับคำว่า Clean Code ไว้ว่า

 

“Clean code ต้องอ่านได้ง่าย ไม่ซับซ้อน จัดการง่าย ความคิดเห็นนี้ก็มีส่วนคล้ายกับที่ Bjarne ได้กล่าวไว้

 

Dave Thomas ผู้ก่อตั้ว OTI และเป็นเจ้าพ่อในเรื่องของ Eclipse strategy ได้แสดงความคิดเห็นไว้ว่า

 

“Clean code จะต้องทำให้ทดสอบได้ง่าย การตั้งชื่อจะต้องชัดเจนมีความหมายเห็นแล้วเข้าใจได้ทันที

 

ซึ่ง Dave ให้ความเห็นที่หนักไปทางผู้ทดสอบระบบและต้องการปรับปรุงระบบให้ดีขึ้น ซึ่งอยากให้ผู้ที่อ่านโค้ดได้เข้าใจว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร ทั้งยังบอกอีกว่าระบบใดที่ไม่มีการทำการทดสอบนั้นไม่ถือว่า Clean ทั้งสิ้น

 

จากที่โปรแกรมเมอร์ที่มีชื่อเสียงทั้ง 3 ท่านได้กล่าวไว้ ผู้เขียนขอสรุปสั้น ๆเอาไว้ดังนี้

 

Clean code เป็นวิธีการหรือข้อกำหนดต่างๆ เพื่อให้โค้ดมีความหมายสามารถส่งต่อผู้เขียนโปรแกรมคนอื่นๆได้ โดยจะต้องทำการทดสอบก่อนเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในภายหลัง

 

Ref: แปลตามความเข้าใจของส่วนหนึ่งในหนังสือ Clean Code

 

หากบทความนี้ เป็นแรงบันดาลใจและกระตุ้นการทำงานของคุณโปรดช่วยกด Ads โฆษณาเพื่อสร้างรายได้เป็นกำลังใจให้แก่ผู้เขียน นำเรื่องราวดีๆมาให้อ่านด้วยนะครับ

แวะมาทักทายกันได้
donate

Categories: Research Tags: #CleanCode , 859