การทำ Service Design ในช่วง Develop เทคนิค Service Blueprint

Image placeholder
แวะมาทักทายกันได้

Service- Blueprint 

           

            สำหรับเทคนิคนี้ เป็นเทคนิคสุดท้ายของขั้นการ Develop หรือ Ideate ซึ่งเป็นการแสดงโดยแผนผังทั้งหมดแสดงกระบวนการทำงานของผู้ที่เกี่ยวข้องในระบบบริการควรทำในช่วงท้ายของช่วง Ideate หรือ Develop ซึ่งเทคนิคนี้จะช่วยให้สามารถพัฒนากระบวนการทำงานของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อส่งมอบบริการที่มีคุณภาพ

 

ควรทำเมื่อไร

 

-       ควรทำเป็นขั้นตอนสุดท้ายใน ช่วง Develop หรือ Ideate

-       ควรทำเมื่อทำ Journey map เรียบร้อยแล้ว

-       เพื่อพัฒนาและสื่อสารบริการที่ออกแบบใหม่ ก่อนที่จะนำระบบไป Implement หรือ พัฒนา Touch Point ให้ตรงตามเป้าหมาย

ประโยชน์

 

-       ทำให้ทีมเห็นความสัมพันธ์ข้ามสายงาน

-       ทำให้เห็นการส่งงานระหว่าง Back Stage กับ Front Stage

-       ใช้สื่อสารการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ทำให้ทุกฝ่ายทำงาน ประสานงานกันได้ดี

-       พัฒนาระบบการทำงาน

o   ใครทำงานอะไร ทำเมื่อไร

o   มีจุดซ้ำซ้อน งานทำเหมือนกันหรือไม่

o   วิเคราะห์ การบริการ ตัวไหนเป็นตัวเลือกที่ดี ควรปรับปรุงให้ดีขึ้น

 


https://en.wikipedia.org/wiki/Service_blueprint

 

ขั้นตอนการทำงาน

-       ตั้งเป้าหมายของโครงการว่าเป็นการบริการเพื่อตอบสนองกลุ่มเป้าหมายใดในบริบทใด

-       ระบุผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในโครงการ ผู้รับบริการ ผู้ให้บริการ ผู้สนับสนุน

-       ระบุกิจกรรมที่แต่ละคนใน Front Stage จะต้องทำ เขียนเป็นขั้นๆ จากซ้ายไปขวา

-       ระบุสิ่งที่เกิดขึ้น Back Stage เพื่อรองรับการบริการที่ Front Stage

-       ระบุสิ่งที่ต้องทำเพื่อสนับสนุนการบริการที่ทำในสิ่งที่จะเกิดขึ้นจาก Back Stage

-       ใส่ลูกศรแสดงความสัมพันธ์ของกระบวนการต่างๆ ระบุหากมีความสำคัญในโครงการ

-       แบ่งเส้น Front Stage และ Back Stage ดูว่าต้องมีการส่งต่อหรือ Interaction กันอย่างไร

 

 

เวลาที่ใช้สำหรับเทคนิคนี้ จะทำแบบคร่าวๆได้ภายใน 1 วัน แต่หากทำแบบละเอียด รวมถึงทดสอบแนวคิดแล้วปรับให้สามารถใช้งานได้จริง อาจจะต้องใช้เวลา 1 ถึง 3 เดือน

แวะมาทักทายกันได้
donate