ทุกวันนี้คุณทำงาน​ (หาเงิน) ให้ใคร?

Image placeholder
แวะมาทักทายกันได้

เคยสงสัยหรือไม่!? 

• ทำไมคนบางคนอยู่เฉยๆ แต่กลับรวยเอาๆ 

• ทำไมบางคนทำงานแทบตาย แต่กลับมีเงินใช้ไม่ถึงสิ้นเดือน

สรุปแล้วเรากำลังหาเงินให้ใครกันแน่?


คุณทำงาน (หาเงิน) ให้ตัวเองแน่หรือ?

แน่นอนว่าขั้นแรก 

คุณทำงานหาเงิน (สร้างกำไร) ให้นายจ้าง  

แต่อย่างน้อยคุณก็ยังได้ส่วนแบ่งกำไรจากบริษัท ตอบแทนการใช้แรงงานของคุณ ทั้งทางร่างกายและทางความคิด ในรูปแบบของ เงินเดือน โบนัส สวัสดิการ ฯลฯ

แล้วทีนี้ผลตอบแทนการทำงานที่คุณได้ มันยังอยู่กับคุณ หรือไปอยู่ที่ใคร


ก่อนที่จะตรงไปหาคำตอบ 

ในบทที่ 2 Why teach financial literacy? ผู้เขียนได้เกริ่นนำว่า คุณสามารถดูความสามารถในการบริหารเงินของใครก็ตามได้ จากการดูทิศทางกระแสเงินสดของเขา โดยสรุปได้คร่าวๆ ดังนี้


1. ความสามารถย่ำแย่ (ยากจน)

ผู้เขียนบรรยายว่า คนในกลุ่มนี้เมื่อได้เงินเดือนมา จะมีแนวคิดที่จะนำเงินเดือนออกไปใช้จ่ายก่อน ค่อยคิดจะเก็บเมื่อเงินเหลือจากการใช้จ่าย ซึ่งสุดท้ายก็มักจะไม่เหลือ โดยผู้เขียนได้วาดภาพกระแสเงินสดอย่างง่ายออกมา ตามรูปด้านล่าง


จากภาพกระแสเงินสดด้านบน ผู้เขียนได้บรรยายว่า 

จริงๆแล้ว คนกลุ่มนี้ไม่ได้ทำงานเพื่อตัวเองเลยด้วยซ้ำ หากมองในช่องรายจ่าย จะเห็นว่า เขาทำงานหาเงินมาให้ :

"สรรพากร" "เจ้าของห้องเช่า" "คนขายอาหาร" "ขนส่งสาธารณะ" "คนขายเสื้อผ้า"

แน่นอนว่าเขาจะได้รัฐสวัสดิการ มีที่อยู่อาศัย อิ่มท้อง ได้เดินทางไปทำงาน มีเสื้อผ้าใส่ แต่สุดท้ายแล้วเงินของเขาที่หามาได้ก็ไปตกอยู่ที่ผู้อื่น ไม่ได้อยู่กับตัวเขาในตอนท้าย

It’s not how much money you make. It’s how much money you keep.

Robert T. Kiyosaki

เห็นดังนี้แล้ว ก็อย่าเพิ่งโมโหไป คุณสามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ดีขึ้นได้ 

ลองอ่านต่อไปก่อน

2. ความสามารถปานกลาง 

ผู้เขียนบรรยายว่า คนในกลุ่มนี้ เมื่อมีเงินเดือนมากขึ้น ก็จะเริ่มมีเครดิตทางการเงิน แต่ก็ตามมาด้วยหนี้สิน ผู้เขียนบรรยายว่า ปัญหาของคนกลุ่มนี้คือ มักเข้าใจผิดคิดว่าสิ่งที่เขาซื้อเป็นการสร้าง "ทรัพย์สิน" ทั้งที่จริงแล้วมันคือ "หนี้สิน" ทำให้รายได้มักจะตกมาอยู่ในช่องหนี้สินก่อนเข้าช่องค่าใช้จ่าย ส่งผลให้มีแต่หนี้สิน เข้าข่าย "ติดกับดักรายได้ปานกลาง"

โดยผู้เขียนได้วาดภาพกระแสเงินสดอย่างง่ายออกมา ตามรูปด้านล่าง

จากภาพกระแสเงินสดด้านบน ผู้เขียนได้บรรยายว่า 

จริงๆแล้ว ผู้ที่มีสถานะปานกลาง หากมองในช่องรายจ่าย จะเห็นว่า เขาทำงานหาเงินมาให้ :

"สรรพากร" "ธนาคารไฟแนนส์บ้าน" "ธนาคารไฟแนนส์รถ" "ธนาคารเจ้าของบัตรเครดิต" "กยศ."

โดยรวมแล้วก็ยังไม่ได้ทำงานหาเงินให้ตัวเองอยู่ดี เพราะ

ถ้ามองดีๆ นอกจากรัฐสวัสดิการแล้ว แย่หน่อยที่ของแทบทุกอย่าง ที่คนกลุ่มนี้ใช้เงินที่หามาได้ไปแลกมานั้น ไม่ได้เป็นของพวกเขาจริงๆ 

หากวันใดที่รายได้ของคนกลุ่มนี้ไม่พอรายจ่าย ก็จะพบว่า บ้าน และ รถ ก็จะถูกธนาคารยึด หากไม่ใช้หนี้บัตรเครดิตก็อาจจะจบที่การถูกยึดทรัพย์อีกอยู่ดี

นี่จึงเป็นคำตอบของคำถามที่ว่า ทำไมบางคนทำงานแทบตาย สุดท้ายเงินไม่พอใช้ เพราะพวกเขาต้องทำงานตัวเป็นเกลียว ผู้เขียนเปรียบเทียบถึง "หนูปั่นจักร" เพื่อหาเงินมาใช้หนี้สินที่มีมากกว่ารายรับ

หลายคนอ่านมาถึงตรงนี้แล้ว อาจจะเถียงว่า บ้าน/ที่ดิน เป็น"ทรัพย์สิน" ไม่ใช่ "หนี้สิน"

แต่ผู้เขียน ชี้แจงว่า ตราบใดที่ บ้าน/ที่ดิน ไม่สามารถสร้างรายได้เข้ากระเป๋าสตางค์ ของเราได้ ก็ยังถูกจัดว่าเป็น "หนี้สิน" อยู่ดี เพราะ นอกจากค่าใช้จ่ายในการผ่อนซื้อ ยังตามมาด้วยค่าใช้จ่ายในการโอน ค่าภาษีที่ดิน ฯลฯ

So as I said earlier, my rich dad simply told two young boys that “assets put money in your pocket.” Nice, simple, and usable.

Robert T. Kiyosaki

อ่านมาถึงจุดนี้แล้ว ผู้เขียนไม่ให้เรากู้ ไม่ให้ใช้หนี้อย่างนั้นหรือ? อดทนอ่านต่ออีกนิด


3. ความสามารถสูง (ร่ำรวย)

ผู้เขียนได้บรรยายว่า คนกลุ่มนี้มี "รายได้/รายรับ" มาจากทรัพย์สินที่พวกเขา สร้าง/สะสม ไว้ แน่นอนว่าพวกเขาก็มีหนี้สินอยู่บ้าง และแน่นอนว่าพวกเขาก็มีส่วนของรายจ่ายเป็นการใช้หนี้เช่นกัน แต่คนกลุ่มนี้จะพยายามรักษาสภาพให้ทรัพย์สินมีมากกว่าหนี้สิน หรือให้รายรับที่ได้จากทรัพย์สิน มาช่วยจ่ายหนี้ของตน

โดยผู้เขียนได้วาดภาพกระแสเงินสดอย่างง่ายออกมา ตามรูปด้านล่าง

สรุปง่ายๆคือ คนที่มีสถานะร่ำรวย จะทำงาน(หาเงิน)ให้ตัวเอง โดยนำรายได้มา "จ่ายให้ตัวเองก่อน" คือการซื้อทรัพย์สิน เพื่อให้ทรัพย์สินเหล่านั้นกลับมาสร้างรายได้ เพื่อนำมาใช้ในรายจ่ายของตนเอง ทำให้ถึงอยู่เฉยๆ ทรัพย์สินของเขาก็เพิ่มพูนขึ้นได้ จากเงินเก็บค่าเช่า เงินดอกเบี้ย เงินปันผล ฯลฯ

If you want to be rich, simply spend your life buying assets. If you want to be poor or middle class, spend your life buying liabilities.

Robert T. Kiyosaki

แล้วคุณล่ะ? กำลังทำงาน(หาเงิน)ให้ใครอยู่?

::: มุมมองของ Wealthy Readers ::::

หนังสือพ่อรวยสอนลูกในบทนี้ เน้นการฉายภาพทิศทางของกระแสเงินสด แบบง่ายๆ ให้เราได้ลองทำเพื่อประเมินตัวเอง ซึ่งการที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองไปในทางที่ดีขึ้นได้ เราต้องยอมรับความจริง ยอมรับความผิดพลาดให้ได้เสียก่อน และทำให้เห็นแนวทางที่ถูกต้องในการบริหารจัดการกระแสเงินสด คือ 

การควบคุมค่าใช้จ่าย อย่าสับสนระหว่างทรัพย์สิน กับ หนี้สิน มุ่งเน้นการสร้างทรัพย์สินที่จะก่อให้เกิดรายได้ เพื่อให้ในท้ายที่สุด เราจะได้ทำงาน "หาเงิน" ให้ตัวเองได้อย่างแท้จริง

#พ่อรวยสอนลูก #richDadPoorDad #RobertTKiyosaki #การลงทุน #ความมั่งคั่ง #การเก็บเงิน #จิตวิทยาการลงทุน #จิตวิทยา #เก็บเงิน #หารายได้ #หาเงิน

หรือติดตามอ่านสรุปความรู้ทางการเงินจากหนังสือ บทความอื่น ได้ที่ https://www.blockdit.com/posts/62383f3d907145efaff866d7


แวะมาทักทายกันได้
donate

Categories: Review Tags: #investment , 818