สมมติฐานในสถิติศาสตร์คืออะไร

Image placeholder
แวะมาทักทายกันได้


สมมติฐานทางสถิติ

สมมติฐาน หมายถึง ข้อความที่นักวิจัย ตั้งคำถามและเขียนคำถามนี้เพื่อทดสอบ โดยคำถามนี้จะเป็นจริงหรือไม่เป็นความจริงก็ได้ นักวิจัยจะต้องใช้ประสบการณ์ ความรู้ เพื่อการเสนอคำตอบชั่วคราวของปัญหาที่ยังไม่ได้ตรวจสอบ โดยอาศัยข้อมูลการทดสอบหรือเดาอย่างมีเหตุผลและหลักการ หากคำถามน่าสนใจและน่าค้นหาแล้วนั้น จะมีคนสนับสนุนเพื่อทำการวิจัยต่อไป 

1. สมมติฐานการวิจัย (Research Hypothesis Or Description Hypothesis) เป็นข้อความที่เขียนในลักษณะของการบรรยาย หรือ การคาดเดาคำตอบของการวิจัย ซึ่งข้อความดังกล่าวจะแสดงความเกี่ยวข้องกันของตัวแปรในรูปแบบความสัมพันธ์ หรือรูปแบบของความแตกต่างที่ได้คาดเดาเอาไว้ เช่น การสอนวิชาคณิตศาสตร์ ด้วยคอมพิวเตอร์จะทำให้ผลการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชัน ปวช. สูงกว่าการสอนด้วยวิธีปกติหรือไม่

2. สมมติฐานทางสถิติ (Statistics Hypothesis) เป็นสมมติฐานที่แปลงรูปจาก สมมติฐานการวิจัยมาอยู่ในรูปของคณิตศาสตร์ โดยแทนค่าด้วยสัญลักษณ์ นักวิจัยจะต้องรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง และอ้างอิงไปยังกลุ่มประชากรโดยการทดสอบสมมติฐาน ซึ่งสมมติฐานทางสถิติจะประกอบไปด้วย สองส่วน คือ สมมติฐานว่าง หรือ สมมติฐานแย้ง

2.1 สมมติฐานว่าง หรือ สมมติฐานหลัก (Null Hypothesis)  จะใช้สัญลักษณ์ H0 เป็นสมมติฐานเพื่ออธิบายว่า ไม่มีความแตกต่างระหว่าง ตัวแปรทั้ง 2 ตัว ซึ่ง

กำหนดให้ u0 แทน ค่าเฉลี่ยของผลการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้น ปวช. เรียนด้วยคอมพิวเตอร์

กำหนดให้ u1 แทน ค่าเฉลี่ยของผลการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้น ปวช. เรียนด้วยวิธีปกติ

สมมติฐานว่าง จะสามารถเขียนเป็นสัญลักษณ์ได้ว่า H0 : u0 = u1

โดยหมายความว่า ค่าเฉลี่ยของผลการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับ ปวช. ที่เรียนด้วยคอมพิวเตอร์ ไม่แตกต่างไปจาก ค่าเฉลี่ยนของผลการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ที่เรียนด้วยวิธีปกติ

2.2 สมมติฐานแย้ง หรือ สมมติฐานรอง (Alternative Hypothesis) ใช้สัญลักษณ์ H1 เป็นสมมติฐานที่ขัดแย้งกับสมมติฐานว่าง ดังนั้นในการตั้งสมมติฐานทางสถิติจะต้องมีทั้งสมมติฐานว่าง (H0) และ สมมติฐานแย้ง (H1) สมมติฐานแย้งจะมีด้วยกัน 3 รูปแบบ ได้แก่

รูปแบบที่ 1  H1 : u1 =! u2  โดยหมายความว่า ค่าเฉลี่ยของผลการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับ ปวช. ที่เรียนด้วยคอมพิวเตอร์ แตกต่างไปจาก ค่าเฉลี่ยนของผลการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ที่เรียนด้วยวิธีปกติ

รูปแบบที่ 2  H1 : u1 > u2  โดยหมายความว่า ค่าเฉลี่ยของผลการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับ ปวช. ที่เรียนด้วยคอมพิวเตอร์ มากกว่า ค่าเฉลี่ยนของผลการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ที่เรียนด้วยวิธีปกติ

รูปแบบที่ 3  H1 : u1 < u2  โดยหมายความว่า ค่าเฉลี่ยของผลการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับ ปวช. ที่เรียนด้วยคอมพิวเตอร์ น้อยกว่า ค่าเฉลี่ยนของผลการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ที่เรียนด้วยวิธีปกติ


สรุป ในการตั้งสมมติฐานนี้จะมีประโยชน์ในการวิจัยเพื่อหาคำตอบบางอย่างที่ยังไม่พบคำตอบ และเพื่อกำหนดสิ่งที่ต้องการจะค้นหาเพื่อไม่เสียเวลา ทั้งยังนำแนวคิดนี้ไปทำระบบ AI ได้อีกด้วย


ยังไงก็ตามผู้เขียนฝากผู้อ่านช่วยแชร์และติดตาม พร้อมทั้งช่วยสนับสนุนเว็บไซต์และเป็นกำลังใจในการรวบรวมข้อมูลความรู้ด้วยการกด Ads ที่ท่านเห็นในเพจด้วยครับ

แวะมาทักทายกันได้
donate