ทบทวนขั้นตอนการทำ Product Design

Image placeholder
แวะมาทักทายกันได้


พอดีหา youtube ดูเกี่ยวกับ UXUI แล้วเจอเกี่ยวกับ Product Design ก็เลยอยาก ทำบันทึกขั้นตอนการออกแบบ digital product design เอาไว้สักหน่อย

จากที่เรียนมาในหลายๆคอร์ส ทั้ง LEAN , Product Discovery, Agile Foundation อีกทั้งดูจาก Youtube อ่านจากหนังสือในหลายๆเล่มที่อยู่ตามร้านขายหนังสือทั่วไป รวมทั้งประสบการณ์เล็กๆน้อยๆที่ผ่านมา อยากจะทำการบันทึกเอาไว้สักหน่อยในบทความนี้ครับ

หากอ้างอิงถึงองค์ประกอบต่างๆ ตามแนวทาง DevOps ซึ่งประกอบไปด้วย plan, coding, build, test, release, deploy, operation และ monitor หรือ อ้างถึงการพัฒนา source code ที่มีทั้งเรื่องการทำ Clean Code การ Refactoring, Data Structure นอกจากที่กล่าวมา ยังมีหลายๆส่วนที่สำคัญที่ต้องคำนึงถึงและพัฒนาไปพร้อมๆกัน เช่น Infrastructure system , Security, UXUI Design, เป็นต้น

จากที่กล่าวมาข้างต้น จะยกมาเฉพาะส่วนที่เป็น Plan เท่านั้นซึ่งมันรวมการออกแบบดีไซน์และรวมไปถึงเรื่องของ UX UI อยู่ใน Process ด้วย
เข้าใจปัญหา
ในกระบวนการออกแบบ design software product ก่อนที่จะออกแบบอะไรสักอย่างหนึ่ง ก็ต้องรู้ก่อนว่าปัญหาคืออะไร จะแก้ปัญหานั้นอย่างไร สิ่งที่จะทำให้เกิดความเข้าใจในปัญหานั้นได้ ก็คือ การ Research การหาข้อมูล อาทิ เช่น การเดินไปขอสัมภาษณ์ การพูดคุย หรือใช้เครื่องมือต่างๆ เช่น Survay online สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องมือในการทำให้เราเข้าใจปัญหา และ แก้ไขปัญหาได้อย่างถูกจุดที่สุด

วิเคราะห์
เมื่อเราเข้าใจปัญหาแล้วก็ต้องนำข้อมูลทุกอย่างที่เก็บมาได้แล้วก็จะต้องนำมาวิเคราะห์ เพื่อให้เกิดระบบ หรือวิธีที่จะแก้ปัญหา pain point ของผู้ที่จะใช้ software หรือ application ของเรา เครื่องมือในการวิเคราะห์ ก็ได้แก่ Personas, Scenario, Information Architecture จาก 3 ตัวที่กล่าวมาจะทำให้สามารถออกแบบได้ แล้วจะได้ Work flow Process, Wireframe และPrototype ออกมา จนไปถึงการ Coding
Personas
Personas คืออะไร Personas เป็นการสร้างตัวละครสมมติขึ้นมา หรือในเชิง marketing ก็เป็นการสร้างกลุ่มเป้าหมายสมมติขึ้นมา โดยกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมายกลุ่มนี้ขึ้น ว่าเป็นใคร ทำอะไร สิ่งที่คาดหวัง ปัญหา ความต้องการ และ ทำไมถึงจะต้องมาใช้ Application ของเรา จนถึงการนำมาทดสอบว่าจะตอบโจทย์กับปัญหาและ Application ที่เราออกแบบไว้หรือไม่

Scenario
ในการทำ scenario นั้นคนหนึ่งอาจจะไม่ได้มี scenario เดียว อาจจะต้องคิดรองรับเอาไว้หลาย scenario หลายๆเหตุการณ์ ยกตัวอย่างเช่น
ขั้นตอนของ User A กับ แอพพลิเคชั่นร้านกาแฟ สมมติว่ามีการปัญหากับการสะสมแต้มกาแฟฟรี
1. เดินเข้ามาในร้านอาหาร
2. เห็น QR Code เชิญชวนให้ Download Application
3. Scan QR Code
4. Download App
5. เปิด App
6. ลงทะเบียน
7. เข้าเมนู เพื่อดูคะแนนสะสมแต้ม
หลังจากที่เราได้ขั้นตอนของ Scenario ทั้งหมดแล้วก็นำมา วิเคราะห์ว่าในแต่ละขั้นตอนของ Scenario นั้นควรจะมี Function อะไรบ้าง ซึ่งในแต่ละขั้นตอน สามารถ สลับปรับเปลี่ยนขั้นตอนได้ เพื่อความถูกต้องก่อนจะเริ่มพัฒนา รวมไปถึงออกแบบเงื่อนไขต่างๆ ที่จำเป็นในแต่ละ Function เมื่อ List ออกมาหมดแล้วก็เป็นอันเสร็จในขั้นตอนนี้

Information Architecture (IA)
ในส่วนนี้จริงๆแล้ว เมื่อเรา List รายการทั้งหมดที่ได้มาจากการทำ Scenario แล้ว ซึ่งรวมไปถึง Feature และ Function ต่างๆ จะต้องนำมาทำการจัดกลุ่มเพื่อกำหนด หมวดหมู่ เพจ หน้าของ Application ว่า เพจไหนทำอะไรบ้างนั้นเอง
Work Flow
เมื่อเราได้ IA มาแล้ว ก็นำมาสร้าง Work flow Feature ในแต่ละหมวดหมู่ หรือ เพจนั้นๆว่ามีขั้นตอนการทำอะไรบ้าง จนไปถึง จน flow ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ผลสรุปเป็นอย่างไร

Wireframe & Mockup design Prototype
ในส่วนนี้ หากเป็นทีมงานพัฒนาเล็กๆ และไม่ได้มีตำแหน่งหรือเป็นบริษัท Designer เป็นหลักก็อาจจะไม่จำเป็นจะต้องทำ wireframe ก็ได้เพื่อความรวดเร็วก็มักจะไปทำเป็น Prototype ออกมาเลย เมื่อเสร็จกระบวนการทั้งหมด จึงเริ่มนำไป Development หรือ Coding ได้ ซึ่งตอน Design Prototype นั้นจะต้องคำนึงถึง ความเป็นไปได้ของ Layout View Object ของ Platform นั้นๆด้วยว่าทำได้หรือไม่ ทั้งยังรวมไปถึง skill ของผู้พัฒนาอีกด้วย

ทั้งหมดนี้ ไม่ได้เขียนแบบเจาะลึกเป็นเรื่องๆไป เพียงนำประสบการณ์และ guild line จากที่ได้เรียนมาประกอบเพื่อไว้ทบทวนกันครับ

แวะมาทักทายกันได้
donate