ศิลปะของ Clean Code

Image placeholder
แวะมาทักทายกันได้


หลังจากที่ได้อ่าน บทความ ทั้ง 2 บทนี้แล้ว ผู้อ่านน่าจะยอมรับแล้วว่าการจะทำให้พัฒนาซอฟต์แวร์ได้อย่างไม่ติดขัดจะต้องศึกษาวิธีการเขียน Code ให้ Clean

 

คุณยังมีพฤติกรรมนี้ที่ทำให้เกิด Bad Code อยู่หรือไม่

ต้นทุนของความไม่เป็นระเบียบ

เปิดหัวเรื่องมาว่าเป็นเรื่องของศิลปะการเขียน Code ผู้อ่าน หลายคนคงจะคิดว่ามันเหมือนกับการวาดภาพ ถ่ายภาพ ที่คิดว่าแค่ถ่ายภาพหรือวาดให้ดูแล้วสวยก็พอแล้วใช่มั้ยล่ะ เป็นข่าวร้ายสำหรับผู้อ่านที่คิดแบบนั้น และยังไม่ได้จะเริ่มเขียน Code อย่างจริง ๆ จัง ๆ เพราะว่าการเขียน Clean Code นั้นไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด มันไม่เหมือนกับการวาดรูประบายสีเพียงแค่ใช้ความรู้สึกเพื่อบ่งบอกว่า ภาพนี้สวยงาม

 

จากนั้นคุณผู้อ่านน่าจะสงสัยกันว่า แล้ววิธีการเขียน Code ให้ Clean ทำอย่างไรกันล่ะ ผู้เขียนจะขอนิยามว่า Clean Code เพื่อให้เข้าใจว่าเป็นวิธีการ เขียน Code ให้ดีนะครับ

 

การเขียน Clean Code มันมีอะไรมากกว่านั้น ที่จะต้องจดจำว่า ทำอะไรบ้าง มีขั้นตอนต่างๆมากกมาย จึงจะเรียกว่า Clean Code ซึ่งมันจะมีการจัดการ ทั้งการสร้าง Code ใหม่ และการจัดการ Code เก่า ให้สามารถอ่านได้ง่ายขึ้น

 

ในการทำ Clean Code สิ่งที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งก็คือ ความมีวินัย ในการใช้เทคนิคต่างๆที่มีอยู่อย่างมากมาย มาใช้ร่วมกัน จนสัมผัสได้ว่านี่แหละ ความสะอาดของ code ต่อไปนี้จะแทนคำนี้ว่า “code-sense”

 

Code-sense คืออะไร แม้ว่าในสมัยนี้มี IDE ที่เจ๋ง ๆ อยู่อย่างมากมาย ที่จะช่วย Scan Code ของเราเพื่อให้รู้ว่า Code นั้น Clean หรือไม่ แต่ไม่ว่ายังไงก็ตาม นักเขียนโปรแกรมที่ดีก็จำเป็นจะต้องรู้เทคนิคต่างๆอยู่ดี ผู้เขียนขออธิบายตามความเข้าใจว่า มันเหมือนกับสิ่งที่ทำบ่อยๆ จนชำนาญ จนเป็นเรื่องที่คุ้นเคยแบบเห็นแล้วรู้ได้ในทันทีแล้วนำมาใช้ได้อย่างแม่นยำ นักเขียนโปรแกรมที่ดีนั้น ถ้ามี Code-sense แล้วจะดัดแปลงแก้ไข Code ที่ไม่ดีให้กลับมาดีได้อย่างใจนึก

 

Ref: แปลตามความเข้าใจของส่วนหนึ่งในหนังสือ Clean Code

 

หากบทความนี้ เป็นแรงบันดาลใจและกระตุ้นการทำงานของคุณโปรดช่วยกด Ads โฆษณาเพื่อสร้างรายได้เป็นกำลังใจให้แก่ผู้เขียน นำเรื่องราวดีๆมาให้อ่านด้วยนะครับ

แวะมาทักทายกันได้
donate

Categories: Review , Research Tags: #CleanCode , 612