เราทำ dashboard ไปเพื่ออะไร และ หลักการทำ dashboard ที่ดีทำอย่างไร

Image placeholder
แวะมาทักทายกันได้


Dashboard หรือ BI Tool เป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้ User เห็นสิ่งที่จะช่วย Business Value เราดีขึ้น หรือ สามารถตัดสินใจเพื่อวัตถุประสงค์บางอย่างที่ Dashboard ต้องการจะบอกเรา


Dashboard ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่ความรับผิดชอบโดยตรงของ Data Engineer แต่ถ้า Data Engineer รู้ไว้บ้าง ก็จะช่วยให้สามารถออกแบบ และ สร้าง data model ได้ตรงตามความต้องการของ user มากขึ้น 


 ## เราทำ dashboard ไปเพื่ออะไร และ หลักการทำ dashboard ที่ดีทำอย่างไร


คีย์สำคัญของการทำ dashboard คือการสร้าง business value 

โจทย์ขององค์กรหลายๆแห่ง อยากจะทำให้ทุกคนในองค์กร สามารถตัดสินใจโดยการนำข้อมูลไปใช้ได้ แต่ว่า ไม่ใช่ทุกคนจะสามารถวิเคราะห์ข้อมูลหรือเขียนโปรแกรมเป็น


เวลาพูดถึง dashboard หลายๆ คนอาจจะนึกไปถึง กราฟแท่ง กราฟเส้น และ มีตัวเลขมากมายเต็มหน้าจอ แต่ในความเป็นจริงแล้ว คำว่า dashboard ถูกนำไปใช้ได้หลายบริบท ตัวอย่างเช่น หน้าปัดรถยนต์ ก็เรียกว่า dashboard เช่นเดียวกัน


## บทบาทหน้าที่ของ dashboard คืออะไร


โจทย์ของการทำ Dashboard คือ การทำให้เห็นข้อมูลที่สำคัญ หน้าที่เข้าใจง่าย ตัวอย่าง หน้าปัดรถยนต์ ต้องมีข้อมูลทุกอย่างที่เกี่ยวกับการขับขี่ เพื่อบอกกับเราให้สามารถขับขี่ได้อย่างปลอดภัย


## Dashboard ที่ดี


1. เห็นสิ่งที่สำคัญ

2. เห็นได้อย่างง่ายๆ

3. เห็นได้ทันที


รวบรวมข้อมูลทุกอย่างที่สำคัญเอาไว้ที่เดียว เพื่อให้เห็นปัญหา และ โอกาส เห็นสิ่งที่ต้องการเตือน 

* (ในกรณีที่มีข้อมูลหลายชุด และ ทุกข้อมูลสำคัญไปหมด ให้เลือกมาเฉพาะที่ตอบโจทย์และบรรลุวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น)


## ปัญหาที่ผ่านมา (case study)

ปัญหาหลายๆ องค์กร คือ มี dashboard เยอะแยะเต็มไปหมดแต่ไม่มีใครใช้ ไม่มีคนดู 


ซึ่งถ้าองค์กรใดที่มีปัญหาแบบนี้อยู่แสดงว่า dashboard นั้น มันไม่ได้มีประโยชน์ หรือ ไม่มี information ที่ผู้ดูสนใจ


การที่ dashboard สามารถบอกกับคนดูได้ว่า เห็นข้อมูลนี้แล้วควรทำอะไร ให้คำแนะนำต่างๆ เห็นการเปลี่ยนแปลง การเปรียบเทียบ เช่น กรณีธุรกิจขายสินค้า ทำอย่างไรให้ลูกค้ากลับมาซื้อบ่อยขึ้น หรือ เข้าเว็บไซต์บ่อยขึ้น เป็นต้น เชื่อได้ว่าผู้ใช้ dashboard ก็คงอยากจะติดตามอยู่ตลอดเวลา 


ในบางครั้ง ข้อมูลบน dashboard ไม่ครบถ้วน user ที่ดูก็อาจจะ download ไปวิเคราะห์หา insignt ด้วยตัวเอง จึงทำให้ไม่ค่อยมีใครใช้ dashboard ได้


## เตรียมข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้พร้อม


สิ่งที่จะทำให้ dashboard ออกมาตรงตามความต้องการผู้ใช้งาน คือ เราต้องเข้าใจผู้ใช้งานก่อน


dashboard หนึ่งหน้าจอไม่สามารถตอบโจทย์ทุกคนได้ เพราะว่า skill ความรู้พื้นฐาน background ของผู้รับชม ไม่เท่ากัน ตัวอย่างเช่น ทีมขายของ คนที่เป็นหัวหน้า อาจจะอยากเห็นภาพรวมของทีมว่าการขายเป็นอย่างไร ส่วนลูกน้องทีมขาย อาจจะอยากรู้ข้อมูลลูกค้า เพื่อดูแนวโน้มการตัดสินใจซื้อของลูกค้า


## คำศัพท์ต่างของงาน dashboard 


metric คือ ตัวเลขที่เราสนใจที่ได้ทำการวัดผลเพื่อนำมาประมวลผล คำนวนค่าทางสถิติ


dimension คือ กลุ่มข้อมูลที่สามารถนำมาแบ่งกลุ่ม เพื่อเปรียบเทียบ


เราจะใช้ 2 ตัวแปรนี้สร้าง มิติ มุมมองต่างๆ ของข้อมูลออกมาให้อยู่ในรูปแบบที่เข้าใจง่าย ไม่ว่าจะเป็น ตาราง หรือ กราฟรูปแบบต่างๆตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการจะสื่อสาร


## การเพิ่มประสิทธิภาพ dashboard ให้ดีขึ้น 


เมื่อ 

1. เราเข้าใจแล้วว่า user ต้องการอะไร

2. เตรียมข้อมูลไว้เรียบร้อย

3. มี metric และ dimension ที่ user สนใจ


ผ่านทั้ง 3 ข้อ แล้ว


สิ่งสุดท้าย คือ การสรุปข้อมูลเป็นสิ่งที่จะต้องทำ ซึ่ง dashboard ที่ดีจะเกิดจากการที่เราสรุปข้อมูลในมุมมอง ที่น่าสนใจ (ต้องเชื่อว่าเป็นสิ่งที่น่าสนใจจริงๆ ไม่ใช่สิ่งที่เราสนใจอยู่คนเดียว)


การสรุปข้อมูล จะต้องทำดังนี้

1. เลือก level of aggregation เพื่อวิเคราะห์ dimension ในมุมมองว่าต้องการเห็น ลึกในระดับไหน ในการจะสรุปข้อมูล เพื่อดูว่า user สนใจอะไร เช่น 

- เราอยากสรุปข้อมูลราย transaction

- เราอยากสรุปข้อมูลรายลูกค้า

- เราอยากสรุปข้อมูลรายสินค้า

- เราอยากสรุปข้อมูลรายสาขา


2. เลือกวิธี aggregation ที่เหมาะสม เช่น การหาผลรวม การหาค่ากลาง การค่าสถิติต่างๆ


3. calculated measure เป็นการคำนวนค่าขึ้นมาใหม่ ที่เชื่อว่า คนที่ดู dashboard จะอยากรู้ เช่น ข้อมูลปีนี้ เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว เป็นเท่า สิ่งสำคัญ คือ อย่าให้ user ต้องทำการคิดเอง จงเตรียมข้อมูลให้เรียบร้อย จะทำให้ dashboard น่าสนใจขึ้น 


4. ใส่ข้อมูลที่สำคัญและตรงวัตถุประสงค์เท่านั้น


Ref.

สรุปจาก section visualize by looker อ. ต้า Skooldio

แวะมาทักทายกันได้
donate